ตั้งแต่วันนี้ คุณเป็น

ตอนเย็นเมื่อวานนี้ ที่บริษัท คนนั่งข้างข้างกันรีบเตรียมออกจากออฟฟิส ผมถามโดยไม่ตั้งใจอะไรว่า จะไปที่ไหนไหม
“จะไปสำนักงานเขตเพื่อเปลี่ยนชื่อ”

เช้านี้ที่ออฟฟิสอีกที
“เปลี่ยนชื่อแล้วจริงๆรึ” ผมถาม
เธอแสดงบัตรประชาชนให้ไปด้วยบอกว่า นี่และ
ชื่อที่ผมเห็นในบัตรนั้นเป็นกชชญาซึ่งหมายถึงความรู้ที่เบ่งบานเหมือนดอกบัว ชื่อเขาเป็นรังสิมาถึงเมื่อวานซึ่งมีความหมายว่าพระอาทิตย์
“ฉันชอบรังสิมามานาน ก็เลยไม่ค่อยรู้สึกอยากเปลี่ยนหรอก”
“งั้นทำไม” “เพราะคุณแม่อยู่ที่โตเกียวโทรมาแนะนำให้”
“ทำไมคุณแม่ถึงบอกอย่างนั้น” “เพราะว่าคุณยายแนะนำให้”
“ทำไมคุณยายถึงบอกอย่างนั้น” “เพราะว่าพระแนะนำให้”
“ทำไมคุณยายถึงคุยเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อกับพระ” “จำได้ไหมว่าฉันอายุพึ่งเป็น 24ปีสักกี่วันก่อน เมื่ออายุ25ปีที่คนไทยเรียกว่าปีเบญจเพส เราก็เลยไปวัดปรึกษากับพระไว้ก่อน และท่านแนะนำให้เปลี่ยนเพื่อโชคดีกว่า”
“ออหอ แต่อย่างไงก็เปลี่ยนเสร็จง่ายๆนะ”
“ใช่ เอาแค่ทะเบียนบ้านกับบัตรประชาชนไปสำนักงานเขต เสียค่า25บาทสำหรับการจัดและอีก20บาทสำหรับบัตรประชาชนตัวใหม่ ทั้งหมด 45บาท แต่ที่เคาทน์เตอร์เขาถามว่าชื่อนี้มีความหมายไหม เพราะชื่อคนไทยควรจะมี”
ผมถามคำถามที่นึกออกทันทีว่า จะเปลี่ยน e-mail ของบริษัทรึเปล่า
“ไม่น่าค่ะ มีคนรู้จักแยะแล้ว อาจจะลำบาก จะเปรียนบัญชีธนาการกับบัตรเครดิตเท่านั้น”
“หนังสือเดินทางละ”
“ปล่อยให้เป็นเหมือนเดิม แล้วค่อยเปลี่ยนตอนต่ออายุ เพราะไม่ต้องแสดงบัตรประชาชนเมื่อเข้าออกประเทศ”
“ถ้าเป็นผมนะ ไม่เคยนึกถึงเปลี่ยนชื่อ รู้สึกอย่างไงเอ่ย”
“เฉยๆ แต่ว่าคุณปู่ตั้งชื่อให้ลูกพี่ลูกน้องกับฉันขึ้นต้นด้วยรัง ก็คือ รังสฤษด์ รังรอง และ รังสิมา รู้สึกเหงานิดหน่อยที่ออกจากความเหมือนนั้น”
“ชื่อเล่นหล่ะ เปลี่ยนมั้ย”
“ไม่เปลี่ยน ชื่อเล่นก็ใกล้เคียงกับลูกพี่ลูกน้อง ติ๊กต๊อก ต๋องแต๋ง ไตเติ้ล เหมือนเดิม”

สนทนาดังกล่าวนี้เป็นเรื่องวัฒนธรรมแตกต่างประทับใจและน่าสนใจอยู่ใน 5อันดับในสิ่งที่ผมเคยเจอ